แนวคิดหลักการเกี่ยวกับชุดการสอน

 

        ชุดการสอนเป็นสื่อประสมสำหรับใช้ในการเรียนการสอนที่มีกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการสร้างชุดการสอน

ความเป็นมาของชุดการสอน

ความหมายของชุดการสอน

ประเภทของชุดการสอน

หลักการสร้างชุดการสอน

ส่วนประกอบและวิธีใช้ชุดการสอน

การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน

ประโยชน์ของชุดการสอน

หน้าหลักงานวิจัย

 

          เมื่อจะลงมือสร้างชุดการเรียนการสอน ผู้สร้างจะต้องรู้ถึง หลักการสร้างชุดการเรียนการสอนว่าจะต้องมีการดำเนินการอย่างไร ซึ่งก็ได้มีนักเรียนศึกษาหลายท่านที่ได้เสนอ หลักในการสร้างชุดการเรียนการสอนไว้ดังนี้
            ฉลองชัย  สุขวัฒนบูรณ์ (2528, หน้า 190-200) ได้เสนอขั้นตอนในการสร้างชุดการสอนหรือสื่อการสอนประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอนดังนี้  
          1. ขั้นการวางแผนดำเนินการ โดยศึกษาสาระของวิชาว่าต้องการหลักการเรียนรู้
อะไรจะทำชุดแบบใด โดยคำนึงถึงผู้เรียนเพื่อกำหนดหน่วยการเรียน มโมมติ จุดประสงค์ จัดลำดับ กิจกรรมการเรียน จัดทำสื่อการสอน ประเมินผลและทดลองสื่อการสอน

          2. ขั้นตอนการผลิตโดยผลิตตามขั้นตอนที่ 1 โดยผู้ผลิตควรตรวจสอบความ สอดคล้องของทุกขั้นตอนกำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา โดนสามารถปฏิบัติหรือเห็นการกระทำได้

          3. ขั้นทดสอบประเมินผล หรือพัฒนาเมื่อทำการผลิตชุดการสอนแล้ว โดยนำไปหาประสิทธิภาพ เมื่อเป็นหลักประกันว่าชุดการสอนนั้นมีคุณค่าที่จะนำไปสอน

          ปรียา  ตรีศาสตร์ (2530, หน้า 44) กล่าวว่า ชุดการเรียนการสอนเป็นสื่อประสมที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่ชุดการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นจะมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้หรือไม่จำเป็นต้องเอาวิธีวิเคราะห์ระบบมาใช้ ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ระบบเป็นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล เรียกว่า Systems approach มาใช้วิเคราะห์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ขั้นปัญหาที่ต้องแก้ไขนั้นคืออะไร
  2. ขั้นกำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหา โดยสามารถปฏิบัติหรือเห็นการกระทำได้
  3. ขั้นการสร้างเครื่องมือ กระทำหลังจากตั้งเป้าหมายแล้วเพื่อวัดได้ระยะ
  4. ขั้นกำหนดทางเลือกหรือวิธีแก้ปัญหา เพื่อใช้ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย
  5. ขั้นทดลอง เพื่อเลือกวิธีที่ดีที่สุดใช้เป็นแนวทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
  6. ขั้นวัดและประเมิน โดยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาประเมินว่าสามารถใช้ปฏิบัติงานตามเป้าหมายได้หรือไม่เพียงใด เพื่อปรับปรุงแก้ไข

          ลาวัลย์  พลเกล้า (2533, หน้า 95) ได้เสนอขั้นตอนการสร้างชุดการเรียนการสอนไว้ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ การกำหนดหน่วย หัวเรื่อง มโนคติ
ขั้นที่ 2 การวางแผน วางแผนไว้ล่วงหน้า กำหนดรายละเอียด
ขั้นที่ 3 การผลิตสื่อการเรียน เป็นการผลิตสื่อประเภทต่างๆ ที่กำหนดไว้ ในแผน
ขั้นที่ 4 หาประสิทธิภาพ เป็นการประเมินคุณภาพของชุดการเรียนการ สอนโดยนำไปทดลองใช้ ปรับปรุงให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้

           Heather (1977,p 343-344) ได้ให้ขั้นตอนการสร้างชุดการสอนด้วยตนเอง คือ

  1. ศึกษาหลักสูตร ตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะนำให้ผู้เรียนได้ศึกษาแล้วจัดลำดับขั้นเนื้อหาให้ต่อเนื่องจากง่ายไปยาก
  2. ประเมินหาความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
  3. เลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงความพร้อมและความต้องการของผู้เรียน
  4. กำหนดรูปแบบการเรียน
  5. กำหนดหน้าที่ของผู้ประสานงานหรืออำนวยความสะดวกในการเรียน
  6. สร้างแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนว่าบรรลุเป้าประสงค์ในการเรียนหรือไม่

 

 

อ้างอิงจาก

ฉลองชัย  สุรวัฒนบุรณ์. (2528). การเลือกและการใช้สื่อการสอน. กรุงเทพฯ : คณะ
ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรียา  ตรีศาสตร์. (2530). การสร้างชุดการสอนวิชาภาษาไทย(ท402)เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการ เรียนภาษาไทยและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ
.  ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.
(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. อัดสำเนา.

ลาวัลย์  พลกล้า. (2533). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

Heather. Glan. (1977). “A Working Definition of Individualized Instructional”. in
Journal the  Educational Leadership.
8:342-344.